เมนู

ความทุกข์ มิได้ประกอบด้วยสุขเสมอไป ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึง
เบื่อหน่ายในรูป เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด
จึงบริสุทธิ์ แม้ข้อนี้แล ก็เป็นเหตุ เป็นปัจจัย เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์
สัตว์ทั้งหลายมีเหตุ มีปัจจัย จึงบริสุทธิ์ แม้ด้วยอาการอย่างนี้ ดูก่อน
มหาลิ ก็หากว่าเวทนาเป็นสุขถ่ายเดียว ฯลฯ สัญญาเป็นสุขถ่ายเดียว
ฯลฯ สังขารเป็นสุขถ่ายเดียว ฯลฯ วิญญาณเป็นสุขถ่ายเดียว สุขตาม
สนอง หยั่งลงสู่ความสุข มิได้ประกอบด้วยทุกข์บ้างแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลาย
ก็จะไม่พึงเบื่อหน่ายในวิญญาณ ก็เพราะวิญญาณเป็นทุกข์ ทุกข์ตาม
สนอง หยั่งลงสู่ความทุกข์ มิได้ประกอบด้วยสุขเสมอไป ฉะนั้น
สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัดจึงบริสุทธิ์ แม้ข้อนี้แล ก็เป็นเหตุ เป็นปัจจัย
เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ สัตว์ทั้งหลายมีเหตุ มีปัจจัย จึงบริสุทธิ์
แม้ด้วยอาการอย่างนี้.
จบ มหาลิสูตรที่ 8

อรรถกถามหาลิสูตรที่ 8



ในมหาลิสูตรที่ 8 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
คำว่า เอกนฺตทุกฺขํ เป็นต้น มีนัยดังกล่าวแล้วในธาตุสังยุตนั่นแล.
จบ อรรถกถามหาลิสูตรที่ 8

9. อาทิตตสูตร



ว่าด้วยความเป็นของร้อนแห่งขันธ์ 5



[133] กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณร้อนนัก
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อม
เบื่อหน่าย แม้ในรูป แม้ในเวทนา แม้ในสัญญา แม้ในสังขาร แม้ใน
วิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด
ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า
ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
จบ อาทิตตสูตรที่ 9

อรรถกถาอาทิตตสูตรที่ 9



ในอาทิตตสูตรที่ 9 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อาทิตฺตํ ความว่า ร้อนนัก คือลุกโพลงด้วยไฟ 11 อย่าง
ในพระสูตรทั้งสองนี้ ตรัสทุกขลักษณะเท่านั้น
จบ อรรถกถาอาทิตตสูตรที่ 9